ปัจจุบันนี้มีกลุ่มมิจฉาชีพพยายามเข้าถึงระบบและข้อมูลสำคัญ หนึ่งในข้อมูลสำคัญที่มิจฉาชีพเหล่านี้ให้ความสนใจคือ การเข้าถึงข้อมูลส่วนตัว หรือการหลอกลวงเอาข้อมูลส่วนตัวของเรา เพื่อนำไปใช้งานแทนเจ้าของข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประกอบยืนยันตัวตนสวมรอยเป็นเรา เข้าไปโจรกรรมสร้างความเสียหายให้กับเจ้าของข้อมูล อีซี่สลิปบอกต่อ สำหรับวิธีป้องกันข้อมูลส่วนตัว รั่วไหล ป้องกันภัยจากมิจฉาชีพ ว่ามีอะไร วิธีแก้ไขปัญหาเมื่อตกเป็นเหยื่อ ทำอย่างไรได้บ้าง
วิธีป้องกันข้อมูลส่วนตัว ไม่ตกเป็นเหยื่อภัยออนไลน์
ในยุคที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวัน การใช้งานอินเทอร์เน็ตเพื่อการสื่อสาร, การทำธุรกรรมออนไลน์, และการทำงานกลายเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องทำ แต่ในขณะเดียวกันก็มีภัยคุกคามทางออนไลน์ที่รออยู่ เช่น การโจรกรรมข้อมูลส่วนตัว, การหลอกลวงทางการเงิน, หรือการแฮกบัญชีที่อาจทำให้ข้อมูลสำคัญของเราถูกนำไปใช้ในทางที่ผิด การปกป้องข้อมูลส่วนตัวจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อหลีกเลี่ยงการตกเป็นเหยื่อภัยออนไลน์ วันนี้เรามีวิธีป้องกันที่สามารถปฏิบัติได้จริงเพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับข้อมูลส่วนตัวของคุณ
1. อย่าคลิกลิงก์ เว็บไซต์ที่ไม่คุ้นเคย
กฎเหล็กของการใช้อินเทอร์เน็ตคือห้ามคลิกลิงก์หรือไฟล์แนบ นอกจากคุณจะรู้ว่าลิงก์นั้นมาจากใคร แฮกเกอร์จำนวนมากจะส่งลิงก์หรือไฟล์แนบพร้อมข้อความที่เกี่ยวข้องเพื่อหลอกให้คุณคลิก โดยทั่วไปลิงก์หรือไฟล์แนบเหล่านี้จะซ่อนมัลแวร์ที่สามารถขโมยข้อมูลส่วนบุคคลของคุณ เข้าถึงรหัสผ่าน หรือสอดแนมพฤติกรรมของคุณ เรื่องราวทั่วไปที่แฮกเกอร์มักจะใช้ได้แก่
- มีหมายจับเป็นชื่อของคุณ
- คุณถูกแฮกหรือสอดแนมแล้ว
- มีปัญหาการส่งไปรษณีย์
- มีคนปิดการใช้งานบัญชีของคุณ
- ข้อมูลธนาคารของคุณถูกขโมย
เมื่อคลิกไปแล้ว ก็อาจทำให้ถูกขโมยข้อมูลส่วนตัว หรือข้อมูลทางการเงินต่าง ๆ ได้ ธันเดอร์ แนะนำให้ติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัสไว้ ช่วยสแกนให้ได้ว่าลิงก์นั้นปลอดภัยหรือไม่ ก็จะช่วยลดความเสี่ยงในการถูกขโมยข้อมูลได้
2. ปิดบลทูธไว้ ถ้าไม่ได้ใช้งาน
ถ้าเราเปิดบลูทูธทิ้งไว้ ก็อาจจะเสี่ยงต่อการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ที่ไม่รู้จักทำให้ข้อมูลภายในโทรศัพท์ของเรารั่วไหลได้
3.ตั้งรหัสผ่านให้ยากไว้ก่อน
ไม่ใช้รหัสซ้ำกับแอปอื่น ๆ เพราะยิ่งรหัสผ่านซ้ำ โอกาสที่จะโดนแฮ็กข้อมูลก็ยิ่งเป็นไปได้ง่าย การใช้รหัสผ่านเดิมซ้ำๆ เพื่อความสะดวกขอบคุณ แต่นั่นหมายความว่าหากมีคนถอดรหัสรหัสได้ พวกเขาจะสามารถเข้าถึงบัญชีที่สำคัญทั้งหมดของคุณได้ ถ้าเป็นไปได้ควรตั้งรหัสผ่านของคุณต่างกัน ใช้ตัวเลข ตัวอักษร การใช้อักษรตัวพิมพ์ใหญ่ และอักขระพิเศษที่หลากหลาย
4.เปิดใช้ระบบพิสูจน์ตัวตน 2 ชั้น ป้องกันการแฮ็ก
การตรวจสอบสิทธิ์แบบสองปัจจัย (2FA) จะตรวจสอบความพยายามในการเข้าสู่ระบบแต่ละครั้งเพื่อบล็อกการเข้าสู่ระบบจากบุคคลที่อาจขโมยรหัสผ่านบัญชี โดยจะมีการส่งชุดรหัสยืนยันให้เจ้าของบัญชียืนยันตัวตนเพิ่มเติม เช่น ข้อความหรืออีเมลพร้อมรหัสที่ไม่ซ้ำกันทุกครั้งที่ต้องเข้าสู่ระบบ ในการเข้าถึงบัญชี คุณต้องมีชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และ เข้าถึงรหัสแบบครั้งเดียว
ถ้ามีการเข้าสู่ระบบอย่างไม่ถูกต้องก็จะมีข้อความแจ้งเตือนไปที่บัญชีของเรา เพียงแค่นี้ก็จะทำให้เรารู้ว่ากำลังมีคนพยายามแฮ็กข้อมูลเราอยู่นั่นเอง
5.ลบประวัติการเข้าชมเว็บไซต์อย่างบ่อย ๆ
วิธีนี้นี้จะช่วยลดจำนวนการถูกติดตามในโลกออนไลน์ ที่ทำให้เสี่ยงต่อการโดนฉกฉวยข้อมูลไป เพราะประวัติการเข้าชม จะเป็นตัวบันทึกเหตุการณ์ และการกระทำต่าง ๆ ของเราบนโลกออนไลน์
ต้องทำอย่างไรเมื่อตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ
เมื่อรู้ตัวว่ากำลังโดนหลอกลวงให้ตั้งสติ และหยุดการติดต่อกับมิจฉาชีพทันที
แจ้งธนาคารที่ใช้บริการทันที ผ่านช่องทาง Hotline คอลเซ็นเตอร์ที่เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง หรือติดต่อสาขาธนาคาร ภายในเวลาทำการ เพื่อทำการระงับธุรกรรม หรือบัญชีชั่วคราวของผู้เสียหาย และบัญชีปลายทาง
แจ้งความอย่างรวดเร็วภายในเวลา 72 ชั่วโมง ผ่านทาง www.thaipoliceonline.com ตลอด 24 ชั่วโมง หรือไปแจ้งความที่สถานีตำรวจ
สัญญาณเตือนของแฮกเกอร์
สิ่งสำคัญคือต้องทราบสัญญาณทั่วไปของการถูกแฮก เพื่อให้คุณสามารถดำเนินการโดยเร็วที่สุด
- การใช้งานอินเทอร์เน็ตของอุปกรณ์เพิ่มขึ้นสูงมาก
- ความเร็วการทำงานของอุปกรณ์ช้าลง
- แบตเตอรี่หมดอย่างรวดเร็วโดยไม่มีคำอธิบาย
- คุณได้รับคำขอเปลี่ยนรหัสผ่านโดยไม่ได้รับอนุญาต
- ซอฟต์แวร์หรือแอพพลิเคชั่นใหม่จะถูกดาวน์โหลดโดยอัตโนมัติ
สรุป
สุดท้ายแล้ว ต้องมีสติในการทำธุรกรรมการเงินทุกครั้ง รวมถึงพ่อค้า แม่ค้า ร้านค้า ร้านอาหารต่างๆที่รับเงินผ่านธุรกรรมการโอนเงินต่างๆ ด้วยแล้ว เพราะถ้าหากไม่ระแวดระวัง อาจหลงกล ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพได้โดยง่าย ไม่ว่าจะเป็นทั้งจากสลิปโอนเงินปลอมต่างๆ รวมถึงให้ระมัดระวังในการให้ข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ให้รหัส OTP ในการทำธุรกรรมการเงินกับใคร ระมัดระวังการคลิกลิงก์ โดยเฉพาะถ้าหากแจ้งว่ามาจากธนาคารให้สงสัยไว้ก่อนเลยว่าเป็นมิจฉาชีพเพราะธนาคารไม่มีนโยบายส่งลิงก์ให้กับลูกค้า รวมถึงให้ระมัดระวังในการติดตั้งแอปต่าง ๆ โดยควรเลือกดาวน์โหลดจากแหล่งที่เชื่อถือได้เท่านั้น สิ่งเหล่านี้ก็จะเป็นเกราะป้องกันภัยเบื้องต้น ไม่ให้หลงตกเป็นเหยื่อแก๊งมิจฉาชีพต่าง ๆ ได้โดยง่าย
แท็ก:
หมวดหมู่: ข่าวสาร
บทความที่เกี่ยวข้อง
วิธีตรวจสอบความถูกต้องของสลิป เทคนิคและขั้นตอนง่ายๆ ที่ควรรู้
เทคนิคและ วิธีตรวจสอบสลิปปลอม การทำธุรกรรมด้วยเทคนิคและขั้นตอนง่ายๆ ผ่านไลน์เพื่อป้องกันความผิดพลาดและเพิ่มความมั่นใจทางการเงินของคุณRead more
เทคโนโลยีทางธุรกิจ ตัวช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและรายได้ให้กับร้านค้า
ตัวช่วยผู้ประกอบการ ตัวอย่างการนำ เทคโนโลยีทางธุรกิจ มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและรายได้ในร้านค้าและร้านอาหาร ด้วยการใช้แพลตฟอร์มการขายออนไลน์Read more
แนวทางและ วิธีปกป้องข้อมูลส่วนตัว ไม่ตกเป็นเหยื่อภัยออนไลน์จากมิจฉาชีพ
ปัจจุบันนี้มีกลุ่มมิจฉาชีพพยายามเข้าถึงระบบและข้อมูลสำคัญ หนึ่งในข้อมูลสำคัญที่มิจฉาชีพเหล่านี้ให้ความสนใจคือ การเข้าถึงข้อมูลส่วนตัว หรือการหลอกลวงเอาข้อมูลส่วนตัวของเรา เพื่อนำไปใช้งานแทนเจ้าของข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประกอบยืนยันตัวตนสวมรอยเป็นเรา เข้าไปโจรกรรมสร้างความเสียหายให้กับเจ้าของข้อมูล อีซี่สลิปบอกต่อ สำหรับวิธีป้องกันข้อมูลส่วนตัว รั่วไหล ป้องกันภัยจากมิจฉาชีพ ว่ามีอะไร วิธีแก้ไขปัญหาเมื่อตกเป็นเหยื่อ ทำอย่างไรได้บ้าง วิธีป้องกันข้อมูลส่วนตัว ไม่ตกเป็นเหยื่อภัยออนไลน์ ในยุคที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวัน การใช้งานอินเทอร์เน็ตเพื่อการสื่อสาร, การทำธุรกรรมออนไลน์, และการทำงานกลายเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องทำ แต่ในขณะเดียวกันก็มีภัยคุกคามทางออนไลน์ที่รออยู่ เช่น…Read more